เจ้าหญิงจากเมืองต้องคำสาป

08 มีนาคม 2018, 10:43:06

เจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง



เจ้าหญิง จาก เมืองต้องคำสาป

.....ถนนสายเชียงตุง-ท่าขี้เหล็ก ไต่ไปตามเชิงเขา สูงชัน และ หุบเหวลึก ผ่านแมกไม้ แล หมู่บ้านเล็กๆ
ที่แทรกตัวตามขุนเขา สร้างด้วยวัสดุธรรมชาติ ไม้ไผ่ กระเบื้อง ไม้สัก อิฐดินแดง ราวกับ เมืองหลงเวลา
ถนนสายนี้....ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2465 หรือเมื่อ 90 ปีก่อน
ได้นำพา..สตรีสาวไทยสูงศักดิ์
ผู้มีใบหน้าสวยคม ดวงตาของเธอเปี่ยมด้วยพลังอำนาจ สง่างามตามแบบฉบับสาวล้านนา
ก้าวสู่ คุ้มหลวงเชียงตุง...
ชะตาชีวิต ได้นำพา เจ้าหญิงกำพร้า จากลำปางเขลางค์นคร
สู่ ตำแหน่ง มหาเทวีเจ้าแห่ง เชียงตุง ได้อย่างไร ?.




 

...ชีวิต ของเจ้าหญิงพระองค์นี้ ถูกขีดร่าย
ด้วยหัตถ์แห่งพระเจ้า ราวกับ บทละครอันโลดโพน
น่าค้นหา ข้าพเจ้ากำลังกล่าวถึง เจ้าทิพวรรณ ณ ลำปาง
พระธิดาในเจ้าไชยสงคราม (น้อยเบี้ย ณ ลำปาง)
กับ เจ้าฝนห่าแก้ว ณ ลำปาง
เจ้าประสูติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2446
ณ คุ้มหลวงของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต มีเชษฐภคินีทั้งหมด 4 พระองค์
แต่ชีวิต เจ้าทิพวรรณ ก็ไม่ได้งดงามหรูหราดังเทพนิยาย
เพราะท่าน กำพร้าเจ้าบิดาเจ้ามารดา ตั้งแต่วัยเยาว์ เพียง2 ชันษา
แต่ เจ้าทิพยวรรณ ก็ได้รับการเลี้ยงดูจากเจ้าตา
คือ เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต และ ได้รับการศึกษาอบรมบ่มนิสัย เยี่ยงสตรีชั้นสูงร่วมกับพระราชวงศ์องค์อื่นๆ ภายในคุ้มหลวงนครลำปาง




....เมื่อเจ้าทิพวรรณอายุได้ 17 ปี คุ้มหลวงนครลำปาง ทราบว่ามีเจ้านายในราชวงค์ไทเขิน มีศักดิ์เป็นเจ้าราชบุตรของเจ้าฟ้าเชียงตุง ได้เสด็จมานครลำปาง เจ้าหลวงบุญวาทย์ฯ จึงได้จัดงานเลี้ยงต้อนรับเป็นพิธีหลวง ขึ้นที่คุ้มของท่าน และ ได้จัดละครคุ้มหลวงให้ชมเป็นการถวายพระเกียรติแก่
เจ้ากองไตย และ เจ้าพรหมลือ ราชอาคันตุกะแห่งเขมรัฐเชียงตุง
ในระหว่างที่นั่งชมละครอยู่นั้น สายตาของ เจ้าพรหมลือ ก็ได้เหลือบไปประสพพบพักตร์เจ้าหญิงทิพยวรรณ ที่ได้เข้ามานั่งชมละครด้วยกับหมู่เจ้านายฝ่ายใน และ เจ้าพรหมลือ ก็ได้ตกหลุมรัก เจ้าทิพยวรรณในทันที ที่ได้สบสายตา...จะเป็นเทพยดาฟ้าดินใดดลบัลดาลให้บังเกิดรักข้าม นคร ในครั้งนี้.. นครเชียงตุง ตองยี ย่างกุ้ง ทั้งนคร ล้วนเปล่งปลั่งไปด้วยกุหลาบงาม หยาดเยิ้มกุลสตรีฉาน พม่าทั้งหลายเ จ้าพรหมลือ หาได้สบพระทัย กลับ มาตกหลุมรักสาวไทยวัยเพียง17ปี
ในวันรุ่งขึ้น เจ้าพรหมลือ ก็ได้เริ่มสานสำพันธ์รัก โดยการพยายามเข้าพบเจ้าหญิงทิพยวรรณถึงที่คุ้มประทับ แสดงความรู้สึกปราถนาดีอย่างจริงใจ ตามฮีต ชายหนุ่มล้านนาโดยทรงแต่งซอค่าวแบบไทเขิน สารภาพรัก โดยมีเจ้าหนานวงศ์ ณ ลำปาง เป็นพ่อสื่อพ่อชัก บอกเล่าถึงความรัก ความเสน่หา ในตัวเจ้าหญิงทิพยวรรณ จนความรักของหนุ่มสาวได้เริ่มก่อตัวขึ้นตามลำดับ


...ชะตาชีวิต ก็นำพาให้ เจ้าทิพยวรรณ ให้ได้พบรักกับ
เจ้าชายหนุ่มอายุ 23 ปี นามว่าเจ้าพรหมลือ ราชโอรสในเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง ที่กำลังจะถูกส่งให้เดินทางไปศึกษาที่ ประเทศอังกฤษหลายปี.. ซึ่งระหว่างนั้น..เจ้าราชบุตรทั้งสอง ก็ทูลขออนุญาติจากเจ้าพ่อเพื่อขอเดินทางมาเยี่ยมเมืองไทยสักครั้งหนึ่ง โดยเดินทางเข้ามาทางแม่สาย จ.เชียงราย โดยเป็นแขกผู้มีเกียรติของ มิสเตอร์ดับบลิว เอ อาร์วู๊ด กงศุลใหญ่อังกฤษ ประจำภาคเหนือ ที่นครลำปาง โดยเจ้าพรหมลือหาได้ทราบไม่ว่า ในการเดินทางครั้งนี้ เจ้าราชบุตรจากเชียงตุงจะไปพบเนื้อคู่ เป็น เจ้าหญิงแสนงามแห่งนครลำปาง
เมื่อข่าวคราวความรักของเจ้าหญิงทิพยวรรณ เป็นที่หมายปองรัก ของ เจ้าพรหมลือ ได้ทราบไปถึงญาติผู้ใหญ่ ใน คุ้มหลวงนครลำปาง จึงได้นำความขึ้นกราบทูลเจ้าบุญวาทย์วงค์มานิต เจ้าหลวงลำปางองค์ที่ 13



แต่การที่เจ้าต่างนคร จะอภิเษกสมรสกันได้
จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสียก่อน
และ เนื่องจากขณะนั้น เชียงตุง อยู่ในบังคับของอังกฤษ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ทรงเกรงว่าจะมีปัญหา ระหว่างประเทศได้ จึงไม่ทรงอนุญาต
พระองค์ทรงมีกระแสรับสั่งมาว่า



"ถ้าหากเจ้าฟ้าพรหมลือจะยอมทรงเปลี่ยนสัณชาติจาก บังคับอังกฤษ
มาเป็น คนในบังคับสยาม ก็จะพระราขทานพระบรมราชานุญาต
หากไม่ยอมเปลี่ยนสัญชาติก็บอกให้ร้างเสีย"
แต่ต่อมา เจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลง ก็ได้ส่งเจ้านายจากเมืองเชียงตุง
มาทำการหมั้นหมาย เจ้าทิพยวรรณ ไว้อย่างเงียบๆ ก่อนที่เจ้าฟ้าพรหมลือ
จะเดินทางไปศึกษายังต่างประเทศ ที่ อังกฤษ
จนกระทั่ง พ.ศ. 2465 เมื่อเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ได้เสด็จถึงแก่พิราลัย
เจ้าฟ้าพรหมลือซึ่งกลับจากอังกฤษ มารับราชการที่เชียงตุง
ได้เสด็จเดินทางมาเคารพพระศพ และ ถือโอกาสนี้เข้าพิธีอภิเษกสมรส
กับ เจ้าทิพวรรณ จากนั้นทั้งสองพระองค์ก็ได้เดินทางไป สร้างรังรัก ณ เขมรัฐเชียงตุง
เจ้าทิพย์วรรณ เมื่อสิ้นเจ้าตา เจ้าบุญวาทย์ แล้ว
ก็ หามีใคร เป็นเสาหลักชีวิตใน ลำปางอีกไม่
จึง ละทิ้งความเสื่อมทรุด กระจักกระจาย ที่ คุ้มหลวงนครลำปาง ถิ่นกำเนิดไว้เพียงอดีต เบื้องหลัง
ก้าวสู่ เขมรัฐเชียงตุง แดนไกลอย่างกล้าหาญ...




.......เมืองต้องคำสาป.. เรื่องราวลึกลับอัน เป็นความเชื่อที่มีมานานหลายยุคสมัยของชาวลำปาง
ที่ต่างฝังใจเชื่อตำนานเมืองว่า
เมืองลำปางเป็นเมืองที่ถูกสาป
จากเจ้าแม่สุชาดา ไม่ให้เจริญรุ่งเรือง
ตราบถึง ผู้สืบเชื้อสายสกุล “ณ ลำปาง” หรือ
เจ้าผู้ครองนครลำปางแต่อดีตทุกพระองค์ ชนิดที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
เพราะเป็น “กรรมเก่า” และ “คำสาป” ที่เจ้าแม่สุชาดาได้สาปแช่งเอาไว้
ก่อนที่จะถูกลงดาบประหารชีวิต โดยที่นางไม่มีความผิด
จากการสั่งประหารของเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์หนึ่ง
เรื่อง ราวของเจ้าแม่สุชาดา และ คำสาปอันน่าสะพรึงกลัว
ที่ได้สาปแช่งไว้ต่อตระกูล ณ ลำปาง
เป็นเรื่องของตำนาน ความเชื่อ ที่นอกจากคนในสกุล ณ ลำปาง เชื่อแล้ว
คนทั้งเมืองลำปางก็ไม่มีใครกล้าไม่เชื่อ หรือ ลบหลู่
เพราะผลของคำสาปได้ต่อเนื่องกันมานานหลายร้อยปี
ดูเหมือน คำสาปของพระนางสุชาดา จะสัมฤทธิ์ผลอย่างมาก
ในยุคที่ เจ้าทิพย์วรรณ อยู่ในวัยสาวสะพรั่ง ซึ่งเป็นยุคการปกครองของ
เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย
เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ 13
ที่ เคยมีฐานะร่ำรวยมั่งคั่งมีทรัพย์สินจำนวนมาก อีกทั้งเป็นผู้บริจาค
ผู้สร้างสิ่งสาธารณประโยชน์จำนวนมาก ใน ลำปาง
ต่อมาเมื่อถูกเปลี่ยนแปลงการปกครองให้รับเป็นเงินเดือน
แทนค่าตอไม้ และ ผลประโยชน์อย่างอื่น ทำให้ค่าใช้จ่ายในคุ้มหลวงไม่เพียงพอ
พบว่าในปีพ.ศ.2454 และ พ.ศ 2458 -เจ้าบุญวาท
ได้ขอกู้เงินจากรัฐบาลในวงเงิน 50,000 บาท
และ ในปี พ.ศ.2463 ที่เจ้าทิพวรรณ ได้พบรักกับ เจ้าพรหมลือ
ที่คุ้มหลวงลำปาง นั้น เจ้าบุญวาทย์ได้ขอเพิ่มวงเงินกู้เป็น 150,000 บาท
สองปีต่อมา เจ้าบุญวาทย์ ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ.2465
ท่านได้ทิ้งภาระหนี้สิน ไว้เป็นจำนวนมาก รวมกับ
หนี้สินของบุตรชายหญิง ของท่านด้วยเป็นเงินถึง 200,000 บาท
จนเจ้าหนี้เรียกร้องให้มีการขาย คุ้มหลวงนครลำปาง เพื่อชดใช้หนี้สิน
ศาลประกาศขายทอดตลาด คุ้มหลวงนครลำปาง
ในวันที่ ๑๗ กรกฏาคม พ.ศ.๒๔๖๙



เจ้าหญิงศรีนวล ธิดาเจ้าบุญวาทย์ ต้องย้ายออกจากคุ้มหลวงนครลำปาง
ไปอยู่บ้านหลังเล็กๆ ข้างศาลแขวงที่รัฐบาลจัดสร้างให้
เมื่อคุ้มหลวงนครลำปางหมดสิ้น เจ้านายบุตรหลานในคุ้มตระกูล ณ ลำปาง
ต่างก็แตกกระจัดกระจายไปคนละทิศคนละทาง นั่นคือ
เหตุผลที่เจ้าทิพย์วรรณ แต่งงานกับ เจ้าชายคนรักชาวเชียงตุง
แม้ในขณะนั้น เจ้าบุญวาทย์ พึ่ง ถึงแก่พิราลัย ก็ตามที
ที่น่าหดหู่ที่สุดคือ แม้กระทั่งพระศพของเจ้าบุุญวาทย์
ก็ถูกทิ้งไว้ที่บน คุ้มหลวงนครลำปางนานกว่า 5 ปี
เพราะไม่มีลูกหลานเจ้านาย ในตระกูล ณ ลำปาง คนใด
พอจะมีกำลังทรัพย์ จัดพิธีศพได้ จนเรื่องทราบถึงรัชกาลที่ 7
ในปีพ.ศ.2469 จึงดำเนินการเชิญ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี
จาก เชียงใหม่ มาเป็นประธานในการจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพ
พร้อมกับ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำพูน น่าน
มาเป็นกรรมการร่วมจัดงานศพดังกล่าว จนงานศพสามารถลุล่วงไปได้
เรื่องราวความทรงจำนี้ จึงตอกย้ำความเชื่อ
ที่มีมานานหลายยุคสมัยของชาวลำปาง
ให้ฝังใจเชื่อตำนานเมืองว่า เป็นเมืองที่ถูกสาป
จากเจ้าแม่สุชาดา ไม่ให้เจริญรุ่งเรือง มั่นคงมากยิ่งขึ้นไปอีก

 
---------------------
ขอบคุณภาพถ่ายทุกท่าน
ที่มา - เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น

 

****************************************************************************
บริการจัดทัวร์ 
เชียงตุง เมืองยอง สิบสองปันนา คุนหมิงจีน หลวงพระบาง วังเวียงลาว มัณฑเลย์ พุกาม ทะเลสาบอินเล ตองจีรัฐฉาน

บริษัท เชียงตุงเรียลเอสเตท แอนด์ ทราเวล จำกัด
เลขที่ใบอนุญาต 21/00833
โทร : 092-891-2277,093-2537733,053-727255
ไลน์ไอดี : @chiangtung
เว๊ปไซค์ : Chiangtungbiz.com
youtube:http://bit.ly/2HDFdMO
 

บทความที่คุณอาจสนใจ

เจ้าหม่อมเทพามนีคำ แห่งเมืองสิงห์ ดินแดนสามฝ่ายฟ้าในแผ่นดินลาว

การสูญเสียแผ่นดินครั้ง 14 ครั้ง

-"ด่านซือหม่าไถ" ตามไปดูแต่ละด่านกันดีกว่า ว่าจะสวยงามแตกต่างกันยังไง

หนังสือเรียนเล่มแรกของสยาม สมัยอยุธยา และแบบอย่างหนังสือเรียนรุ่นต่อๆมา

เจ้านางขันคำแห่งหอเจียงจันทร์

บริษัท ไชยนารายณ์ โกลเบิ้ล จำกัด

66 หมู่1 ถนนโชคชัย4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพ 10320

Tel ซื้อสินค้า : 063 5599 896

Tel ซื้อสินค้า : 092 891 2277

Tel ท่องเที่ยว :

Line ซื้อสินค้า : @chainarai

Line ท่องเที่ยว : @chainarai

Email : chainarai456@gmail.com

แผนที่

เพจ สิบสองปันนา หลวงพระบาง

เพจ เชียงตุง อยู่ดีกินหวาน