ก่อนสิ้นรัฐฉาน

02 มีนาคม 2018, 15:27:50



 
ก่อนสิ้นรัฐฉาน

วันที่ 19 พ.ย. 2428 อังกฤษได้จับกุมตัวกษัตริย์สีปอ ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าไว้และในวันที่ 1 ม.ค. 2429 อังกฤษจึงประกาศว่า ได้ทำการยึดดินแดนของพม่าไว้หมดแล้ว

ซึ่งในตอนนั้นไม่ได้มีการรวมรัฐฉานของไทใหญ่เข้าไปด้วย จนกระทั่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2430 อังกฤษถึงได้เดินทางเข้ามาในรัฐฉานและประกาศให้รัฐฉานเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ

ภายใต้การปกครองของอังกฤษนั้น มีการแบ่งอยกการปกครองและเงินงบประมาณของรัฐฉานและพม่าออกจากกันอย่างชัดเจน ในสมัยนั้นพม่าจะเป็นฝ่ายที่คอยต่อด้านอังกฤษมาโดยตลอด ในขณะทีเจ้าฟ้าและประชาชนไทใหญ่ให้ความร่วมมือกับอังกฤษ รวมทั้งให้การช่วยเหลือสนับสนุนอังกฤษในการสู้รบสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ด้วย

วันที่ 15 ส.ค. 2482 เพื่อให้พม่าหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ อองซานจึงได้จัดตั้งกลุ่มคอมมิวนิสต์ใต้ดินขึ้นโดยมีตัวอองซาน เป็นเลขาธิการของกลุ่ม อองซานได้พยายามติดต่อกับกลุ่มคอมมิวนิสต์กลุ่มต่างๆ ดังนี้ หลังจากที่เดินทางจากอินเดียกลับถึงกรุงย่างกุ้งแล้ว อองซานจึงได้แอบเดินทางเพื่อไปประเทศจีนแต่เพราะลงเรือผิดลำจึงไปขึ้นท่าที่เกาะอมอย ทางญี่ปุ่นจึงเรียกตัวอองซานไปที่เมืองโตเกียว หลังจากที่อองซานเดินทางกลับมาถึงกรุงย่างกุ้งแล้ว อองซานได้รวมรวมพรรคพวกจำนวน 3 คนเดินทางไปฝึกการรบที่ญี่ปุ่น

วันที่ 26 ธ.ค. 2484 อองซานได้จัดตั้งกองทัพอิสระภาพแห่งพม่าขึ้นที่กรุงเทพฯ แล้วในปี พ.ศ. 2485 อองซานได้นำกำลังเข้าร่วมกับทหารญี่ปุ่นทำการโจมตีเหล่าประเทศอาณานิคมของอังกฤษและในช่วงสงครมโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นก็ได้เดินทางเข้ามาในพม่าและรัฐฉาน ทางเจ้าฟ้ารัฐฉานจึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ข้าราชการของอังกฤษไปยังอินเดีย พม่าและญี่ปุ่นได้เข้ามาทำทารุณกรรมกับประชาชนในรัฐฉาน เช่นเดียวกันกับที่กระทำต่อประชาชนของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย จนกระทั่งสงครามโลกครั้ง ที่ 2 สงบลง



 


ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2484 รัฐบาลอเมริกา และอังกฤษได้จัดทำหนังสือข้อตกลงเตหะรานขึ้น โดยมีใจความระบุไว้ว่า หากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงแล้วนั้น จะคืนเอกราชได้แก่ดินแดนอาณานิคมของทั้ง 2 ประเทศทั้งหมด ซึ่งหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงแล้วนั้น อองซานจึงได้พยายามเข้าพบปะกันอังกฤษเพื่อเจรจาขอเอกราชคืนจากอังกฤษถึงกรุงลอนดอน ในขณะที่อังกฤษปกครองพม่าและรัฐฉานอยู่นั้น ได้มีนักศึกษาในรัฐฉานเดินทางไปศึกษาที่กรุงย่างกุ้ง และมีแนวความคิดฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์ มีความเกลียดชังและต้องการล้มล้างระบอบเจ้าฟ้า ได้เข้าเป็นแนวร่วมกับกลุ่มต่อต้านผู้ล่าอาณานิคมเพื่อเอกราช ของอองซาน และตกลงที่จะทำงานบ่อนทำลายการปกครองระบอบเจ้าฟ้าของรัฐฉาน และให้เกิดการเข้าร่วมกับพม่าในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษให้แก่กลุ่มของอองซาน โดยอาศัยพื้นที่ปฏิบัติการในรัฐฉาน

เนื่องจากเจ้าฟ้าเป็นมิตรกับอังกฤษมาดตลอด จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษได้ให้สัญญากับเจ้าฟ้าว่าขอให้รัฐฉานอยู่ในอารักขาของอังกฤษต่อไปก่อน อังกฤษจะทำการพัฒนาด้านการศึกษา การเมือง การปกครอง การติดต่อต่างประเทศ ในประเทศ การเศรษฐกิจและการคมนาคมแก่รัฐฉานให้เรียบร้อยเสียก่อนแล้วอังกฤษจะคืนเอกราชให้ภายหลัง อองซานเป็นผู้ที่ไปชักจูงให้ทหารญี่ปุ่นเข้ามาในพม่าและรัฐฉาน

แต่สุดท้ายแล้วในวันที่ 27 มี.ค. 2488 อองซานได้นำกำลังทหารเข้าสู้รบกับทหารญี่ปุ่น และพม่าได้ถือเอาวันนี้เป็นวันกองทัพของพม่าสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง หลังจากนั้น 2 เดือน เจ้าหญิงเมืองป๋อน ทรงสิ้นพระชนม์ลง บรรดาเจ้าฟ้าจากเมืองต่างๆ จึงได้เดินทางมาร่วมงานพระศพทำให้ได้พบปะและได้พูดคุยกันไว้ว่า น่าจะจัดให้มีการประชุมของเจ้าฟ้าทั้งหมด เกี่ยวกับอนาคตของรัฐฉานจนกระทั่งวันที่ 31 ม.ค. 2489 จึงได้จัดประชุมกันขึ้นที่ เมืองกึ๋ง และในที่ประชุมได้มีมติให้จัดตั้ง คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉานขึ้น เพื่อให้มีสถาบันที่จะปกครองรัฐฉานในแนวทางระบอบประชาธิปไตยและเพื่อที่จะทำให้รัฐฉาน ซึ่งมีดินแดนอยู่ระหว่างจีนแดงและพม่าสามารถดำรงค์อยู่ได้อย่างมั่นคงนั้น ทางเจ้าฟ้ามีแนวความคิดที่จะร่วมสร้างบ้านแปงเมืองกับทางรัฐคะฉิ่น และรัฐชิน ดังนั้น จึงตกลงเห็นควรว่าจะเชิญรัฐคะฉิ่น และ รัฐชิน เข้ามาร่วมเป็นสหพันธรัฐ





ต่อมาในวันที่ 20-28 มี.ค. 2489 ทางเจ้าฟ้าไทใหญ่คะฉิ่น และรัฐชิน จึงได้จัดประชุมร่วมกันขึ้นที่ เมืองปางหลวง โดยเห็นพ้องต้องกันที่จะทำการจัดตั้ง สหพันธรัฐเทือกเขาและสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา ขึ้นและกำหนดให้ส่งตัวแทนเข้ามาเป็นสมาชิกสภารัฐละ 6 คนรวม 18 คนโดยจะเริ่มจัดตั้งภายในปี พ.ศ. 2490 และให้มีจัดประชุมร่วมกันขึ้นอีกครั้งหนึ่งที่เมืองปางหลวง

ภายในปี พ.ศ. 2490 และถือว่าการประชุมในครั้งนี้เป็นพื้นฐานของการจะอยู่ร่วมกับแบบสหพันธรัฐครั้งแรกในดินแดนแห่งนี้ แต่ด้วยนักศึกษาที่เป็นแนวร่วมของพม่าได้แจ้งข่าวเรื่องการประชุมร่วม 3 รัฐให้ทางพม่าทราบ ทางพม่าซึ่งนำโดยนายอูนุ และนายอูจ่อ จึงได้เดินทางมาเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย แต่ถึงแม้พม่าจะเข้าร่วมประชุมด้วยก็ตาม ในที่ประชุมก็ไม่สามารถตกลงหาข้อยุติอันใดได้ เนื่องจากเจ้าฟ้าไทยใหญ่ได้พูดในที่ประชุมอย่างชัดเจนว่า จะจัดตั้งสหพันธรัฐที่ไม่มีพม่ารวมอยู่ด้วยเท่านั้น ดังนั้นพม่าจึงเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์เท่านั้น ไม่มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นและไม่มีสิทธิ์ลงมติใดๆ ทั้งสิ้น

วันที่ 27ก.ค. 2489 บรรดาเจ้าฟ้าไทใหญ่ได้ร่วมกันจัดตั้ง คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน ขึ้นตามมติที่ได้ตกลงกันไว้ในการประชุมที่เมืองกึ๋งในขณะที่พม่าต้องการให้ไทใหญ่ร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ไม่เห็นด้วย พม่าจึงทำการยุยงให้นักศึกษาในรัฐฉานบางกลุ่ม ซึ่งเป็นแนวร่วมของพวกเขาทำการจัดตั้งกลุ่มเพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน ขึ้นเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2489 ซึ่งกลุ่มนี้มีแนวความคิดทีจะเรียกร้องเอกราชร่วมกับพม่า และล้มล้างการปกครองระบอบเจ้าฟ้า

คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้พยายามเรียกร้องว่า หากมีการให้เอกราชแก่รัฐฉาน ก็ไม่เห็นด้วยที่จะร่วมกับพม่า โดยได้ทำหนังสือแสดงจุดยืนดังกล่าวต่อข้าหลวงอังกฤษมาโดยตลอด ในขณะเดียวกัน อองซานก็ได้เดินทางไปลอนดอนเพื่อเจรจาขอเอกราชคืนจากอังกฤษ และกลับมาชักชวนให้รัฐคะยาเจ้าร่วมกับพม่าด้วย ในระหว่างการเดินทางไปรัฐคะยา อองซาน ได้แวะกล่าวปราศรัยต่อประชาชนชาวไทใหญ่เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2489 ในสนามฟุตบอลแห่งหนึ่ง ที่เมืองตองกี ซึ่งผู้ที่เข้าฟังการปราศรัยส่วนใหญ่เป็นคนยากจนและคนหนุ่มสาว โดยเรียกร้องให้ไทใหญ่ให้ความร่วมมือกับพม่า


 

ในวันที่ 23 ธ.ค. 2489 อองซาน ได้ขอเข้าพบกลุ่มเจ้าฟ้าที่ปกครองทางภาคใต้ของรัฐฉานโดยได้พยายามพูดจาหว่านล้อมให้เจ้าฟ้าเหล่านั้นเห็นด้วยกับการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษรร่วมกับพม่า แต่เจ้าฟ้าเหล่านั้นไม่เห็นด้วย

ในวันที่ 26 ธ.ค. 2489 อองซานจึงเดินทางกลับไปยังกรุงย่างกุ้ง เพื่อเตรียมตัวเดินทางไปพบปะพูดคุยกับ นายแอตลี นายกรัฐมนตรีของอังกฤษที่กรุงลอนดอน เกี่ยวกับเรื่องเอกราชของพม่า

วันที่ 30 .ธ.ค. 2489 คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้จัดประชุมขึ้นที่แสนหวี และได้ส่งโทรเลขจากเมืองล่าเสี้ยวถึงนายแอตลี มีใจความว่า อองซานไม่ใช่ตัวแทนของชาวไทใหญ่ เรื่องของทางไทใหญ่นั้น ทางคณะกรรมการเจ้าฟ้าฯ จะเป็นผู้ตัดสินใจเอง นายแอตลี ได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าวในวันที่ 2 ม.ค. 2490

วันที่ 9 ม.ค. 2490 อองซาน เดินทางถึงกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เข้าพบกับนายแอตลี ตั้งแต่วันที่ 16 – 26 ม.ค. 2490 เพื่อเจรจาให้อังกฤษมอบเอกราชคืนให้แก่พม่า และรัฐฉานร่วมกัน แต่ทางนายแอตลี ได้ตอบปฏิเสธเนื่องจากได้รับโทรเลขแสดงเจตนารมณ์ของประชาชนชาวไทใหญ่จากคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯที่ไม่เห็นด้วยกับการรับเอกราชร่วมกับพม่า เมื่อนายอูนุทราบว่าทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้ส่งโทรเลขถึง นายแอตลี มีใจความไม่เห็นด้วยกับพม่า

ในวันที่ 22 ม.ค. 2490 นายอูนุจึงได้สั่งให้คนของเขาไปทำการยุยงให้นักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน ส่งโทรเลขสนับสนุนให้อองซานเป็นตัวแทนของชาวไทใหญ่ถึงนายแอตลีบ้าง โดยนายแอตลี ได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2490



 

ต่อมาในวันที่ 27 ม.ค. 2490 จึงได้มีการทำหนังสือข้อตกลงอองซานแอตลีขึ้น ซึ่งในหนังสือข้อตกลงฉบับนี้ ในวรรคที่ 8 ได้ กล่าวเกี่ยวกับรัฐฉานไว้ว่า ให้อองซานทำการเจรจากับผู้นำของชาวไทใหญ่ที่กำลังจะจัดประชุมกันขึ้นที่ ปางหลวงในเดือน ก.พ.ที่จะถึงนี้ และ นายแอตลี ได้ส่งโทรเลขถึงคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ตัวแทนรัฐคะฉิ่น ตัวแทนรัฐชินให้ได้รับทราบ เพื่อที่จะได้คิดแนวทางที่จะพูดคุยกับอองซานในการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาที่จะจัดขึ้นที่ เมืองปางหลวง

จากมติการประชุมที่ เมืองปางหลวง เมื่อปี 2489 ว่า จะจัดให้มีการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาขึ้นอีกครั้ง ดังนั้นในวันที่ 3 ก.พ. 2490 ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ จึงได้จัดประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาขึ้นที่เมืองปางหวงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมในครั้งนี้นั้น ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ เป็นผู้ออกเองทั้งหมด


วันที่ 7 ก.พ. 2490 คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯและประชาชนชาวไทใหญ่ได้มีมติจัดตั้งสภาแห่งรัฐฉานขึ้น ซึ่งสมาชิกสภาแห่งรัฐฉาน นี้ประกอบด้วยตัวแทนเจ้าฟ้า 7 คน และตัวแทนจากประชาชนจำนวน 7 คนเช่นกัน และให้สภาแห่งรัฐฉาน เป็นตัวแทนของประชาชนชาวไทใหญ่ทั้งปวง พร้อมทั้งได้มีมติประกาศใช้ธงซึ่งประกอบด้วยสีเหลือง เขียว แดง และมีวงกลมสีขาวอยู่ตรงกลาง เป็นธงชาติของรัฐฉานตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

วันที่ 8 ก.พ. 2490 เวลา 18.00 น. อองซาน ได้เดินทางมาถึงยังเมืองปางหลวง ก่อนหน้านี้อองซานไม่ได้มาและเพิ่งเดินทางมาถึง โดยมีการเตรียมตัวเพื่อที่จะมาเข้าร่วมประชุมเลย อองซานมาในครั้งนี้ เหมือนเป็นการเสี่ยงดวงว่าทางไทใหญ่จะให้ความร่วมมือในการเรียกร้องเอกราชหรือไม่เท่านั้น

วันที่ 9 ก.พ. 2490 เวลา 10.00. น. ตัวแทนไทใหญ่ชิน และ คะฉิ่น ได้จัดตั้งสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา ขึ้นตามมติการประชุมร่วมกันเมื่อเดือน มี ค. 2489 โดยมีสมาชิกสภาซึ่งเป็นตัวแทนที่มาจากรัฐฉาน รัฐชิน และรัฐคะฉิ่น รัฐละ 6 คน รวมเป็น 18 คนและให้เป็นสภาปกครองสูงสุดของสหพันธรัฐเทือกเขา


 

วันที่ 9 ก.พ. 2490 เวลา 11.30 น. อองซาน ได้กล่าวในที่ประชุมเรียกร้องให้ไทใหญ่ร่วมกับพม่า ในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ตัวแทนของชาวไทยใหญ่ได้คัดค้านอย่างหนักแน่นเช่นเดิม และในขณะที่กำลังดำเนินการประชุมอยู่นั้น ได้เกิดการกระทบกระทั่งชกต่อยกันขึ้นระหว่างทหารชุดรักษาความปลอดภัยของอองซาน กับของเจ้าฟ้าส่วยแต็กแห่งเมืองหยองห้วย ซึ่งเป็นผู้นำของเหล่าเจ้าฟ้าไทยใหญ่ทั่งหลาย ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดขึ้นมา บรรดาเจ้าฟ้าไทใหญ่ได้กล่าวในที่ประชุมว่า ถ้าไม่มีสิทธิแยกตัวเป็นอิสระหลังจากที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษก็จะไม่ร่วมมือกับพม่าอย่างเด็ดขาด ส่วนตัวแทนของรัฐคะฉิ่นก็ได้เรียกร้องให้มีการกำหนดดินแทนของรัฐคะฉิ่นให้ชัดเจน

ซึ่งอองซานได้แสดงอาการโกรธและจะไม่อยู่ร่วมประชุมต่อ แต่ทางฝ่ายหนักศึกษาของกลุ่ม เพื่อเอกราชรัฐฉาน ซึ่งเป็นแนวร่วมกับทางอองซาน ได้เรียกร้องให้อยู่ร่วมประชุมต่อ

วันที่ 11 ก.พ. 2490 ได้มีมติตกลงที่ร่วมกันเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่จะร่วมกันเพื่อเรียกร้องเอกราชเท่านั้น หลังจากได้รับเอกราชแล้ว ทุกรัฐมีอิสระในการติดสินใจ ทุกอย่างที่ต้องร่วมกันเรียกร้องเอกราชก็เพื่อให้เกิดพลังในการเจรจากับอังกฤษเท่านั้น




วันที่ 12 ก.พ. 2490 บรรดาเจ้าฟ้าและตัวแทนจากรัฐต่างๆ จึงได้ร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง ซึ่งอองซานเป็นผู้ร่างขึ้นเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2490 มีเนื้อหาสาระทั้งหมด 9 ข้อ แต่ไม่มีข้อใดที่ระบุถึงสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระบรรดาเจ้าฟ้าจึงสอบถาม ซึ่งอองซานได้ตอบว่าเรื่องสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระนั้น น่าจะนำไปเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญของสหภาพจะมีผลดีมากว่าเขียนไว้ในหนังสือสัญญาปางหลวง

เมื่อร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวงแล้วอองซานจึงได้เสนอให้อยู่ร่วมกันเป็นระยะเวลา 10 ปี (เสนอเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2490 ณ เมืองเม่เมี้ยว ) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อังกฤษได้เข้ามาพบปะ และถามความคิดเห็นของประชาชนสหพันธรัฐเทือกเขา

ด้วยเหตุที่มีการร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง และได้ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาในวันที่ 4 ม.ค. 2491 จึงได้รับเอกราชจากอังกฤษ โดยมีสิทธิเท่าเทียมกันทุกประการ เนื่องจากประเทศไทใหญ่ และพม่าไม่ได้เป็นประเทศเดียวกัน อองซาน จึงได้เรียกร้องต่ออังกฤษเพื่อให้ไทใหญ่ และพม่าได้รับเอกราชในเวลาเดียวกัน และตัวอองซานเองได้เดินทางขึ้นมาพบปะพูดคุยกับเจ้าฟ้าในที่ประชุม ปางหลวง ซึ่งถ้าหากว่าไทใหญ่และพม่าเป็นประเทศเดียวกันแล้วอองซาน คงไม่ต้องเสียเวลามาเจรจากับเจ้าฟ้าในการประชุมปางหลวงและหนังสือสัญญาปางหลวงก็คงไม่เกิดขึ้น และในรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2490 ก็คงไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแยกตัวเป็นอิสระ ดังนั้นประเทศไทใหญ่ และพม่าจึงมาเกี่ยวพันกันเริ่มตั้งแต่การลงนามร่วมกันในหนังสือสัญญาปางหลวงเท่านั้นเอง

วันที่ 2 มี.ค. 2505 เนวินได้นำทหารเข้ายึดอำนาจจากอองซาน และได้ฉีกหนังสือสัญญาปางหลวงทิ้งรวมทั้งรัฐธรรมนูญที่ได้ร่วมกันร่างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2490 ด้วย

ดังนั้นความเกี่ยวพันกันระหว่างไทใหญ่กับพม่าจึงสมครวเป็นอันสิ้นสุดลง แต่ในโลกความจริงมันไมใช่


****************************************************************************
บริการจัดทัวร์ 
เชียงตุง เมืองยอง สิบสองปันนา คุนหมิงจีน หลวงพระบาง วังเวียงลาว มัณฑเลย์ พุกาม ทะเลสาบอินเล ตองจีรัฐฉาน

บริษัท เชียงตุงเรียลเอสเตท แอนด์ ทราเวล จำกัด
เลขที่ใบอนุญาต 21/00833
โทร : 092-891-2277,093-2537733,053-727255
ไลน์ไอดี : @chiangtung
เว๊ปไซค์ : Chiangtungbiz.com
youtube:http://bit.ly/2HDFdMO
 

บทความที่คุณอาจสนใจ

เมืองเชียงแสนเป็นศูนย์กลางการปกครองและเศรษฐกิจของแคว้นสุวรรณโคมคำ แคว้นโยนกนาคพันธ์ และแคว้นหิรัญนครเงินยาง ตามลำดับ หลังการสถาปนาเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ.1839 โดยพญามังราย กษัตริย์แห่งเมืองเงินยาง เมืองเงินยางจึงถูกปล่อยให้รกร้าง

เราๆท่านๆคงได้ยินคําว่าทับหลังกันมาทุกคนนะครับ ทับหลังคือรูปการแกะสลักหรือการทําแผ่นหินที่มีศิลปะลวดลายอย่างมีความหมายวางทับบนขอบประตู ทับหลังที่โด่งดังระดับโลกถูกลักเอาไปเมืองนอก ก็คือ ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ เป็นข่าวเกรียวกราวไปแล้ว อันว่าหํายนต์ก็อย่างเดียวกันนั่นแหละ ใช้แกะสลักไม้วางบนกรอบประตูเข้าห้องนอนใหญ่เพื่อกันผีสาง ผีซะป๊ะอย่างเข้าห้องนอน ดังคํากล่าวในการสร้างบ้านคนล้านนาว่า หํายนต์กั๋นผี ขอบธรณีกั๋นขึ้ด หมายความว่า หํายนต์ที่บนขอบประตูกันผี ส่วนขอบธรณีประตู(อยู่ด้านล่างตรงกับหํายนต

คำให้สัมภาษณ์เจ้านางองค์สุดท้ายของเชียงตุง เจ้าสุคันธา ณ เชียงใหม่ #ตอนที่ 7 ตอนจบ

วิชาดาบอาทมาฏ มีจุดเด่นอยู่ที่ความรวดเร็วและรุนแรง

บริษัท ไชยนารายณ์ โกลเบิ้ล จำกัด

66 หมู่1 ถนนโชคชัย4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพ 10320

Tel ซื้อสินค้า : 063 5599 896

Tel ซื้อสินค้า : 092 891 2277

Tel ท่องเที่ยว :

Line ซื้อสินค้า : @chainarai

Line ท่องเที่ยว : @chainarai

Email : chainarai456@gmail.com

แผนที่

เพจ สิบสองปันนา หลวงพระบาง

เพจ เชียงตุง อยู่ดีกินหวาน