ไทลื้อปัจจุบัน

20 มกราคม 2019, 11:16:24

ไทลื้อปัจจุบัน



ปัจจุบันชาวไทลื้อกระจายตัวอยู่ที่

ประเทศพม่า มีแถบเมืองยอง เมืองยู้ เมืองหลวย เมืองเชียงลาบ เมืองไร เมืองพะยาก เมืองโก เมืองโต๋น เมืองเลน เชียงตุง
ประเทศลาว เมืองหลวงน้ำทา เมืองหลวงพูคา เมืองบ่อแก้ว ไชยะบุลี (เชียงฮ่อนเชียง เชียงลม หงสา) เมืองหลวงพะบาง
ประเทศไทย เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน
ประเทศเวียดนาม เมืองแถน


 
 
สำหรับในประเทศไทย มีชาวไทลื้อในหลายจังหวัดทางภาคเหนือตอนบน ดังนี้

เชียงราย : อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน อำเภอพานซึ่งเป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากจังหวัดลำปาง (ส่วนหนึ่งได้อพยพไปเมืองเชียงรุ้ง เมื่อเกิดสงครามไทยพม่า)
เชียงใหม่ : อำเภอสะเมิง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันกำแพง กิ่งอำเภอแม่ออน
น่าน : อำเภอเมืองน่าน (ต.ในเวียง บ้านเชียงแขง บ้านเมืองเล็น)

อำเภอท่าวังผา มีชาวไทลื้ออยู่ 5 ตำบล คือ ต.ศรีภูมิ บ้านห้วยเดื่อ ต.ป่าคา เป็นชาวไทลื้อที่มาจากเมืองล้า มี 5 ประกอบด้วยหมู่บ้าน บ้านหนองบัว บ้านดอนแก้ว บ้านต้นฮ่าง บ้านดอนมูล บ้านแฮะ ,ตำบลยม มีชาวไทลื้อ 5 หมู่บ้านเป็นชาวไทลื้อที่มาจากเมืองเชียงลาบ และเมืองยอง ประกอบด้วย บ้านลอมกลาง บ้านทุ่งฆ้อง บ้านเชียงยืน บ้านเสี้ยว บ้านหนองช้างแดง ,ต.จอมพระ เป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองยองและเมืองยู้มีชาวไทลื้อ 5 หมู่บ้าน บ้านถ่อน และถ่อนสอง บ้านยู้ บ้านยู้เหนือ บ้านยู้ใต้

อำเภอปัว เป็นอำเภอที่มีชาวไทลื้ออยู่มากที่สุด ประกอบด้วย ต.ศิลาเพชรเป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองยอง มี 7 หมู่บ้าน บ้านป่าตอง3หมู่บ้าน บ้านดอนไชย บ้านนาคำ บ้านดอนแก้ว ,ตำบลศิลาแลง เป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองยอง บ้านเก็ด บ้านหัวน้ำ บ้านตีนตก เป็นต้น ต.วรนคร บ้านดอนแก้ว บ้านร้องแง บ้านมอน บ้านขอน บ้านป่าลานเป็นต้น ตำบลสถาน เป็นชาวไทลื้ออพยพมาจากเมืองเชียงลาบ มี 3 หมู่บ้าน นอกนั้นในยังมีอีกไม่ต่ำกว่า 20 หมู่บ้านในอำเภอปัวที่เป็นชาวไทลื้อ

อำเภอเชียงกลาง

อำเภอสองแคว มีชาวไทยลื้ออาศัยอยู่ที่ตำบลยอด ที่บ้านปางส้าน บ้านผาสิงห์และบ้านผาหลัก

อำเภอทุ่งช้าง บ้านงอบ บ้านปอน ห้วยโก๋น และส่วนที่อพยพเข้ามาใหม่ ซึ่งจะอยู่ปะปนกะชาวเมืองน่านแถบชายแดน (มีจำนวนมากที่สุด อพยพมาจาก แขวงไชยะบุรี และ สิบสองปันนา)

พะเยา : อำเภอเชียงม่วน อำเภอเชียงคำ (มีจำนวนมาก) อำเภอภูซาง
ลำปาง : อำเภอเมือง ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน บ้านกล้วยหลวง บ้านกล้วยแพะ บ้านกล้วยม่วง บ้านกล้วยกลาง และบ้านกล้วยฝาย และบางส่วนใน อำเภอแม่ทะ
ลำพูน : อำเภอเมือง อำเภอบ้านธิ


จากสิบสองปันนาสู่ล้านนาไทย



ในรัชกาลที่ 1 เชียงใหม่เป็นเมืองร้างป่าช้างดงเสือ เจ้ากาวิละ แห่งเมืองเชียงใหม่ได้ฟื้นม่าน (ขับไล่พม่า) และเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง(สร้างบ้านแปลงเมือง)โดยไปชักชวน ไตลื้อ ไตเขิน ไตใหญ่ ไตยวน ประกอบกับสิบสองปันนา ขณะนั้นกำลังประสบกับการรุกรานจากมองโกล จึงเข้าสู่ยุคการสร้างวัฒนธรรมใหม่เป็นเชียงใหม่ล้านนาไทย จังหวัดลำพูนนับได้ว่าเป็นเมืองของชาวไตลื้อกลุ่มใหญ่จากเมืองยอง โดยแท้


ในรัชกาลที่ 4 เจ้าสุริยพงผริตเดช แห่งเมืองน่านดำเนินนโยบาย เก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง เช่นกัน ลื้อเมืองหย่วน เมืองมาง เมืองล้า เมืองพง เมืองฮำ จึงได้เข้ามาอยู่ในจังหวัดน่าน เชียงม่วน เชียงคำ อำเภอเชียงคำได้ริเริ่มจัด “งานสืบสานตำนานไตลื้อ” สืบเนื่องมาหลายปี ประกอบกับชุมชนไตลื้อเชียงคำมีเป็นจำนวนมากถึงกับมีการกล่าวกันว่า “เชียงคำคือเมืองหลวงคนไตลื้อในประเทศไทยแน่แท้”


ไตลื้อจากเมืองหย่วนเข้ามาอยู่ในอำเภอเชียงคำได้ตั้งชื่อหมู่บ้านของ ตนเองเหมือนเมืองเดิมที่สิบสองปันนาว่าบ้านหย่วน ต่อมาผู้คนเพิ่มขึ้นพื้นที่คับแคบจึงได้แยกกลุ่มมาตั้งหมู่บ้านใหม่และบูรณะ พระธาตุเก่าแก่ที่มีอยู่เดิมโดยตั้งชื่อใหม่ว่าตามพระธาตุว่า “บ้านธาตุสบแวน”
2492-2501 ยุคประเทศจีนปฏิวัติวัฒนธรรมศาสนาถูกปิดกั้น พระราชวังเวียงผาครางถูกทำลาย จนย่อยยับ เจ้าหม่อมคำลือคือเจ้าหอคำเชียงรุ่งหรือกษัตริย์องค์สุดท้ายของชาวไตลื้อ ไร่นาทรัพย์สินของไตลื้อถูกยึด ผู้คนถูกเกณฑ์ไปทำนาการอพยพสู่ล้านนาไทยครั้งใหญ่เป็นยุคสุดท้ายของไตลื้อ สู่แม่สาย เชียงของ แม่สรวย และเชียงใหม่ หลังจากนั้น การอพยพของชาวไตลื้อจากสิบสองปันนา สู่ล้านนาไทยก็มีมา “เหมือนน้ำซึมทราย” มาโดยตลอดมาตามสายเครือญาติ ด้วยล้านนาเป็นเมืองที่สงบร่มเย็น คนไตยวน(คนเมือง)กับคนไตลื้อ ยอมรับปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกันอย่างกลมกลืนจนบางครั้งแยกไม่ออกว่า วัฒนธรรมประเพณีใดเป็นของคนไตลื้อหรือเป็นของคนเมือง


ปัจจุบันพรมแดนการเมืองวัฒนธรรมถูกเปิดขึ้นทั้งในจีน พม่าและเวียตนาม คนไทยตื่นเต้นต่อการไปเยือน ไตเขินในเชียงตุง ไตลื้อในสิบสองปันนา ส่วนหนึ่งแสดงออกถึงอาการหวนหาอาลัย ในวิถีชีวิตเก่าๆ ที่สูญสิ้นไปนานแล้วจากล้านนา แต่ยังหลงเหลืออยู่ที่ เชียงตุง เชียงรุ่งเพราะภาพเชียงรุ่ง เชียงตุงในวันนี้คือภาพสะท้อนของเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา เมื่อ50-60 ปีที่แล้ว ปัจจุบันกลายเป็นสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ-สาย สัมพันธ์ 5 เชียง คือ เชียงรุ่ง เชียงตุง เชียงราย เชียงใหม่ และเชียงทอง(หลวงพระบาง)ในปัจจุบัน
บัดนี้ภาษิตของชาวไตลื้อโบราณ กลับมาดังก้องในโสตประสาทของผองเผ่าไตในอุษาคเนย์ทั้ง 5 เชียงอีกครั้ง …“ตางเบ๋าเตว สามวันก็หมอง ปี้น้องเบ่าไปหากั๋นก็เส่า”… (หนทาง ถ้าไม่เดิน หญ้าก็ขึ้นรก ญาติพี่น้อง ถ้าไม่ได้ไปมาหาสู่กัน ก็ดูเหมือนจะเป็นอื่นไป)


วิถีชีวิตคนไตลื้อเป็นคนขยันอดทน รักสงบ สะอาด ปลูกผัก ทำไร่ ทำนา(ไตคือชนชาติแรกที่ค้นพบการทำนาในซีกโลกตะวันออก)
ภาษไตลื้อได้รับอิทธิพลมาจากอักษรมอญโบราณ และมีอิทธิพลต่ออักษรไทยของพ่อขุนราม เพราะคำบางคำของภาษาไทยในพจนานุกรมอธิบายว่าเป็นคำโบราณแต่คำโบราณที่ว่า นั้นเป็นคำที่ใช้กันปกติของชาวไตลื้อในสิบสองปันนา


วิถีชีวิตชาวไทลื้อ



ชาวไทลื้อตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำ ที่ตั้งบ้านเรือนจะแยกจากที่นาไร่เป็นสัดส่วน แต่บ้านทุกหลังจะมีสวนครัวปลูกผักไว้กินเอง และเลี้ยงวัวควายไว้ใช้เทียมเกวียนและไถนา เลี้ยงหมู เป็ด ไก่ ไว้กินเป็นอาหาร ชาวไทลื้อมีอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ไทลื้อที่อร่อยหลายอย่างเช่น แกงแค แอ่งแถะ น้ำปู น้ำผัก ฯลฯ และทุกครอบครัวจะขุดบ่อน้ำตื้นไว้ดื่มใช้และรองน้ำฝนไว้ดื่นกิน ชาวไทลื้อชอบดื่มน้ำร้อนจึงมักต้มน้ำดื่มโดยใส่ใบไม้หรือเมล็ดพืชที่เป็นผัก นำไปย่างไฟ จะมีกลิ่นหอม เช่น ใบทับทิม หรือฝักฉำฉา ชาวลื้อเรียกว่า น่ำหล่า



ครอบครัวไทลื้ออยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่มีปู่ย่า ตา ยาย ลุงป้า น้าอา พ่อแม่ลูก หลาน เหลน อยู่ด้วยกันอย่างอบอุ่น เคารพเชื่อฟังผู้อาวุโสกว่า โดยเฉพาะผู้หญิงจะเคารพยกย่องผู้ชายมากเป็นพิเศษ ด้วยความเชื่อว่าผู้ชายเป็นเพศพระ ศรัทธาคาถาอาคมซึ่งถือเป็นของสูง จะเห็นว่าผ่าเส่อหรือฟูกนอนของคู่สามีภรรยาไทลื้อ ฟูกของสามีปู 2 ชั้น ส่วนฟูกของภรรยาปูชั้นเดียว ผู้หญิงไทลื้อสุภาพเรียบร้อยขยันทำงานบ้านและต้องทำนาทำไร่เคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ชายด้วย
 
ที่มา : www.tailueradio.org
 



 



**************************************************
บริการจัดทัวร์ 
ทัวร์เชียงตุง ทัวร์เมืองยอง ทัวร์สิบสองปันนา ทัวร์คุนหมิงจีน ทัวร์หลวงพระบาง ทัวร์วังเวียงลาว ทัวร์มัณฑเลย์ ทัวร์พุกาม ทัวร์ทะเลสาบอินเล ทัวร์ตองจี ทัวร์รัฐฉาน

บริษัท เชียงตุงเรียลเอสเตท แอนด์ ทราเวล จำกัด
เลขที่ใบอนุญาต 21/00833
โทร : 092-891-2277,093-2537733,053-727255
ไลน์ไอดี : @chiangtung
เว๊ปไซค์ : Chiangtungbiz.com
youtube:http://bit.ly/2HDFdMO
 

บทความที่คุณอาจสนใจ

อัตลักษณ์ชาติพันธุ์เขิน

ชาวจ้วง พี่น้องไทยอีกเผ่าที่ยิ่งใหญ่  และมีเรื่องราวในประวัติศาสตร์มากมายพอๆกับเมืองจีนเลยทีเดียว...

วัดพระเจ้าหลวงน้ำยื้ออยู่เลยจากวัดน้ำไค้เข้าไปอีกราว 10 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางล้วนเป็นป่าดอยดงหนา สลับซับซ้อนสูงขึ้นเรื่อยๆ การหักร้างถางป่าดูจะเบาบางลง จะว่าเปล่าผู้หมู่ชนอาศัยก็ไม่ใช่ ศาลาพักยั้งระหว่างทางพอมีให้เห็นบ้าง ?มีศาลาย่อมมีหมู่บ้าน? หากแต่จะซ่อนตัวอยู่ ณ ที่ใดไม่อาจทราบได้ หรือเพราะดงใหญ่ไพรกว้าง จึงมีที่ทางทำกินมากแห่ง เหลือแบ่งที่ดินให้ไม้ใหญ่ใบหนาอยู่เคล้าฝอยฝ้าหมอกฝน หรือว่าอันที่ล้านโล้นโค่นเตียนอยู่ห่างจากมรรคาเข้าไป

บริษัท ไชยนารายณ์ โกลเบิ้ล จำกัด

66 หมู่1 ถนนโชคชัย4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพ 10320

Tel ซื้อสินค้า : 063 5599 896

Tel ซื้อสินค้า : 092 891 2277

Tel ท่องเที่ยว :

Line ซื้อสินค้า : @chainarai

Line ท่องเที่ยว : @chainarai

Email : chainarai456@gmail.com

แผนที่

เพจ สิบสองปันนา หลวงพระบาง

เพจ เชียงตุง อยู่ดีกินหวาน